Skip to main content
“ทุก 40 วินาที จะมี 1 ชีวิตที่สูญไปจากการทำร้ายตัวเอง คุณสามารถช่วยพวกเขาได้” 
“เวลาคนไข้อยากฆ่าตัวตาย เขาจะรู้สึกสองจิตสองใจคือ ไม่อยากฆ่าตัวตายหรอกแต่ก็ไม่อยากอยู่ ถ้าเขามีความหวัง เห็นความหมายในชีวิต เขาก็อาจจะไม่อยากตาย”
ฐิติพร พริ้งเพริ้ด ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่ปี 44 ในตอนที่คนยังไม่รู้จักคำว่า “โรคซึมเศร้า” กันดีนัก ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนที่เธอจะป่วย เธอใช้ชีวิตแบบ “ทำร้ายร่างกายอย่างหนักหน่วง” กินหนัก นอนดึกถึงขั้นไม่นอน จนเมื่ออาการโรคซึมเศร้านั้นชัดเจน เธอก็ไม่ยอมไปหาหมอ และจมอยู่
บ่อยครั้งที่เราได้อ่านเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับ 'โรคซึมเศร้า' โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งนำเสนอผ่านหลายแง่มุม โดยส่วนใหญ่มักเป็นคำบอกเล่าจากปากของผู้เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งปัจจุบันหายแล้ว หรือบทความเชิงวิชาการที่ประกอบด้วยข้อมูลทางการแพทย์มากมาย เช่น อาการเบื้องต้นของโรคซึมเศร้าที่กว้างแสนกว้างจนคล้ายคลึงกับอาการเครียดปกติ แต่ผู้ป่วยที่ยังไม่หายล่ะ ผู้ป่วยที่อาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการจิตเภทร่วมด้วย คุณเคยได้ยินเรื่องของเขาไหม เรื่องราวและโครงสร้างอันซับซ้อนของโรคซึมเศร้าที่มาจากประสบการณ์จริงที่แตกต่างจากทุกเรื่องที่คุณรู้มา และในวันนี้น้องสาวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ปัจจุบันยังคงเป็นอยู่ทั้งยังมีอาการหลงผิดหลอนประสาทร่วมด้วยกำลังจะเล่าทุกรายละเอียดให้ฟัง