Skip to main content
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ออกชี้แจ้งข้อเท็จจริงผ่านทางเพจ รถไฟฟ้าบีทีเอสกรณีเหตุการณ์ที่มานิตย์ อินทร์พิมพ์ หรือซาบะ
ไทยสมายล์ เปิดตัวการบริการ "อักษรเบรลล์" และ "ภาษามือ" เพื่ออำนวยความสะดวกคนพิการทางสายตาและการได้ยินเข้าถึงระเบียบความปลอดภัยและการปฏิบัติตัวบนเครื่องบิน
วันนี้เรามีนัดสัมภาษณ์กับนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติคนหนึ่ง ซึ่งแอบได้ยินมาว่าเธอเป็นคนที่สดใสและอารมณ์ดีมาก  แต่ชีวิตของเธอนั้นต้องมาเปลี่ยนไปเมื่อประสบอุบัติเหตุรถสิบล้อทับขาจนขาด ลึกๆ แล้วถึงแม้อาจจะเศร้าและเสียใจกับเหตุการณ์ในวันนั้น แต่ความรู้สึกพวกนั้นกลับต้องพ่ายแพ้ให้กับรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเธอที่ดังและเห็นได้ชัดเจนกว่า แน่ชัดแล้วว่า “การยอมรับความจริง” คงไม่ใช่เรื่องยากและเป็นไปไม่ได้สำหรับเธอ มากไปกว่านั้นยังเดินหน้าต่อแม้ว่าสภาพร่างกายจะไม่เหมือนเดิมแล้วก็ตามแล้วอะไรที่ทำให้สาวน้อยคนนี้มีหัวใจที่แข็งแกร่งและพลังงานที่ล้นเหลือได้ขนาดนี้?ไม่นานนัก “เมย์” ในชุดเดรสสีหวาน ก็หมุนล้อวีลแชร์มาอย่างขะมักเขม้น พร้อมกับรอยยิ้มที่ทำให้เรายิ้มตาม ตอนนี้ทำอะไรอยู่บ้าง?ตอนนี้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ, วิ่งมาราธอน, ดำน้ำสคูบา, ปีนผา, Vertical run อย่างวิ่งขึ้นตึกบันยันทรี 61 ชั้น ก็ใช้มือดึ๊บ ๆ ขึ้น(หัวเราะ) คนอื่นเขาวิ่งขึ้นกันแต่เราใช้มือยกตัวขึ้น 1,000 กว่าขั้น ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเหตุการณ์อุบัติเหตุในวันนั้นเป็นอย่างไรเมย์ตอบคำถามอย่างไม่ลังเลว่า ตอนนั้นอายุ 16 นัดกับเพื่อนไว้ว่าจะไปกินเลี้ยงวันเกิดกัน ก็ขี่มอเตอร์ไซค์ไปคนเดียวระยะทางประมาณ 20 กว่ากิโล ก่อนหน้านี้เราไม่เคยขับออกถนนใหญ่ ไกลสุดก็ไปแค่ตลาดเลยไม่รู้ว่าพวกรถใหญ่จะมีแรงลม แรงดูด เราก็ขี่ไปตามทางของเราจนช่วงหนึ่งที่ขับอยู่ระหว่างตัวรถพ่วง เราเองก็ยอมรับว่าขับใกล้รถพ่วงด้วย พอเจอแรงลมดูด รถเราเลยล้มแล้วล้อรถพ่วงก็ทับขาเราหลังออกจากบ้านมาได้ประมาณ 2 กิโลคนขับรถบรรทุกล่ะ รับผิดชอบอะไรไหมไม่นะ เขาก็ไปเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าเขารู้ตัวหรือเปล่าว่าขับรถทับขาเรา หลังจากโดนทับเราก็ลุกขึ้นมานั่ง ก็ตกใจ เลือดไหลเต็มเลย ชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้นก็ออกมาช่วย พร้อม ๆ กับมีรถกู้ภัยมาพอดี พาเราไปส่งโรงพยาบาลอำเภอ ตอนที่เขาพาไปส่งโรงพยาบาลเราก็โทรหาแม่“แม่ๆ มาหาหนูหน่อย หนูโดนรถทับขาเละหมดเลย” พอบอกแม่ไปแบบนี้ แม่ก็เงียบ แต่เรามีสติ ก็เลยโทรบอกเพื่อนอีก 2 คนนัดกันว่า “เฮ้ย..เราไม่ได้ไปแล้วนะ เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย”(หัวเราะ) แล้วก็โทรบอกเพื่อนที่โรงเรียนว่า เราคงไม่ได้ไปโรงเรียนนะ เพราะเป็นช่วงใกล้สอบ พอถึงโรงพยาบาลอำเภอแม่ก็โทรกลับมา และถามว่าอยู่ที่ไหน จนกว่าแม่จะมาถึง หมอก็พันแผลเรียบร้อยแล้ว และกำลังจะย้ายไปโรงพยาบาลจังหวัดเพราะมีเครื่องมือครบกว่า เราร้องไห้ไปครั้งเดียวตอนลุกขึ้นมาเห็นขาตัวเอง หลังจากนั้นไม่ร้องเลยเพราะเห็นแม่ ป๊า ทุกคนร้องไห้ แล้วเรารู้สึกว่าจะอ่อนแอไม่ได้ ทุกวันนี้กลับไปดูรูปทำแผล แล้วก็คิดในใจว่า “ผ่านมาได้ไงวะ” (หัวเราะ) ทำไมตัดสินใจตัดขาตัวเองหลังจากย้ายมาที่โรงพยาบาลจังหวัด หมอก็พยายามผ่าตัดต่อขา ต่อเส้นเลือด เส้นประสาท กล้ามเนื้อ พยายามรักษาให้มันปกติ หลังผ่าตัดหมอแตะที่ปลายเท้า แล้วถามว่า“เป็นไง รู้สึกไหม?” ปรากฎว่าขาข้างซ้ายรู้สึกชาๆ แต่ข้างขวาไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะว่าเลือดไม่ลงไปเลี้ยง หมอจึงกลัวว่าจะติดเชื้อในกระแสเลือด ก็เลยบอกเราว่า “ถ้าไม่ตัดขาทิ้ง จะเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วทำให้ตายได้” ตอนนั้นป๊ากับแม่ก็ร้องไห้ ไม่อยากให้ตัดขาแต่ก็กลัวว่าเราจะเป็นอะไรไปเลยไม่กล้าตัดสินใจ หมอหันมาถามเรา “รักแม่ไหม อยากอยู่กับแม่ไหม ถ้ารักแม่ก็ต้องตัดขานะ เพราะไม่งั้นเดี๋ยวติดเชื้อแล้วเราก็จะตาย” เราเลยบอก “ค่ะ ตัดเลย” (น้ำเสียงเด็ดเดี่ยว) เราไม่มีทางเลือก เราอยากอยู่ต่อ สิ่งที่คิดอย่างเดียวคือ ต้องมีชีวิตอยู่ต่อ ไม่รู้หรอกว่าตัดขาแล้วจะเป็นคนพิการ จะต้องนั่งรถเข็น หรือจะเป็นยังไง ยังไงก็ได้ให้รอด หลังจากนั้นก็เลยตัดคนรอบข้างเป็นอย่างไรพอแม่เข้ามาเยี่ยมเราในไอซียู ก็น้ำตาคลอมาเชียว ยิ่งตอนเรียกชื่อเราแค่นั้นแหละ ร้องเลย แต่เราไม่ร้อง กลับขอกระดาษกับปากกาจากพยาบาล ตอนนั้นเราพูดไม่ได้เพราะใส่เครื่องช่วยหายใจ เลยเขียนใส่กระดาษว่า “แม่ ไม่ต้องร้อง หนูไม่เป็นไร” พอแม่อ่านปุ๊บ ร้องอีก! (หัวเราะ) คราวนี้ร้องโฮเลย ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาลจะได้ของเยี่ยมตลอด มีคนมาเยี่ยมทุกวัน ทุกคนที่มาก็ร้องไห้ เขาอยากให้กำลังใจ แต่ไม่ชินกับเราในสภาพแบบนี้  ไม่คิดว่าวันหนึ่งเราจะเกิดอุบัติเหตุ หลายคนห่วงว่าวันข้างหน้าจะเป็นยังไง เราก็ได้แต่บอกว่าเดี๋ยวก็มีทางไป เดี๋ยวก็ทำได้เรารู้ว่าครอบครัวรักเรามากก็ตอนนี้แหละ แม่ไม่กลับบ้านเลย อยู่กับเราตลอดเป็นเดือน ๆ เป็นคนดูแลเราทุกอย่างไม่ว่าจะขับถ่ายหรืออะไรก็ตาม เพราะเราต้องใส่แพมเพิส ไม่สามารถลุกนั่งได้ พอออกจากโรงพยาบาล ตาก็จะไปส่งที่โรงพยาบาลเพื่อทำกายภาพทุกเช้าชีวิตเปลี่ยนไปไหมเปลี่ยนทุกอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่หมอบอกคือ เราเคยทำอะไรได้ก็ให้ทำเหมือนเดิม ถ้าอันไหนที่ทำไม่ได้ค่อยเปลี่ยน เราจะได้รู้สึกว่าไม่เปลี่ยนมาก เช่น เคยนอนชั้น 2 ก็นอนเหมือนเดิม ก็กระดึ๊บขึ้นบันได ห้องน้ำก็ไม่ได้ทำทางลาดแต่มีที่เกาะตอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อาจารย์และผู้อำนวยการโรงเรียนมาเยี่ยม เขาบอก “กลับไปได้นะ ไม่ต้องห่วง รักษาตัวให้หายก่อนแล้วค่อยกลับไปเรียน” พอกลับมาเรียนวันแรก เขาก็ต้อนรับเราด้วยกลอน  พร้อมบูมให้กำลังใจ เราอยู่ท่ามกลางคนเป็นพัน คิดในใจว่า เราไม่ต้องกังวลแล้ว กลับมาวันแรกเขาก็เตรียมพร้อมต้อนรับเรา ช่วงนั้นยังไม่ได้ใช้รถเข็นแบบเข็นเอง ก็ชอบอ้อนให้คนเข็นให้ พอไปโรงเรียนเพื่อนจะเข็นให้ตลอด ตึกเรียนที่ไม่มีลิฟท์เพื่อนก็ยกขึ้น เมื่อก่อนตัวเบาหนัก 34 เอง(หัวเราะ) หลังๆ เริ่มไปห้าง ดูหนัง ร้องคาราโอเกะ ทำทุกอย่างเหมือนเดิม เพื่อนเคยบอกว่า “เราตั้งใจกันไว้แล้วว่า ถ้าเมย์กลับมา เราจะไม่แกล้ง” สุดท้ายก็เหมือนเดิม (เล่าด้วยรอยยิ้ม) เพราะเราเป็นคนน่าแกล้ง แถมยังทำตัวปกติเหมือนเดิม ไม่ได้ซึมเศร้า เราแค่นั่งรถเข็น เริ่มเข็นวีลแชร์เองตอนไหนตอนไปทำขาเทียมที่ศูนย์สิรินธรฯ เจ้าหน้าที่ถามว่า “ทำไมต้องให้แม่เข็น ทำไมไม่เข็นรถเอง ไม่ดูแลตัวเอง” เราคิดได้เลยเพราะนั่งรถแบบรอคนเข็นทำให้เราใจร้อน ยิ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้น้อยแต่ความต้องการของเรายังเหมือนเดิม เลยเรียกร้องความสนใจมากขึ้น แล้วก็หงุดหงิดที่หยิบนั่นหยิบนี่ไม่ได้ รู้สึกว่าถ้าเราทำได้ก็ทำไปแล้ว เราเลยได้รถเข็นเองมา พร้อมกับคำขู่ว่า ถ้ารอบหน้ายังให้แม่เข็นอีกจะไม่ทำขาเทียมให้ เขาก็อยากให้เราช่วยเหลือตัวเองได้เยอะ ๆ ต้องขอบคุณที่ทำให้รู้ว่ารถเข็นที่เข็นเองได้นั้นดีมาก เพราะว่าเราสามารถไปไหนมาไหนเองได้ ทำอะไรได้มากขึ้นพอต้องเข็นรถเอง ก็ต้องออกกำลังกายมากขึ้น หมอถามว่า “ว่ายน้ำเป็นไหม” เราบอก “ไม่ว่ายค่ะ ว่ายไม่เป็น แต่ไม่กลัวน้ำ”
เราเจอบุญรอดครั้งแรกตอนที่เราทั้งคู่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เขานั่งอยู่บนม้านั่งตรงนั้นเหมือนไม่มีความพิการ จนเขาเริ่มเดิน ท่าเดินที่โยกไปโยกมา บวกกับแขนที่เกร็งก็พอทำให้เรารู้ว่า มีบางอย่างผิดปกติ แต่สิ่งที่แตะความสนใจของเรากลับไม่ใช่ความผิดปกตินั้น แต่เป็นความช่างคุยและความเป็น 'ผู้หญิง' ในตั
เมื่อวันที่ 11 มี.ค.เวลา 20.22 น.ที่ผ่านมา แฟนเพจเฟสบุ๊ก Accessibility Is Freedom โพสต์ภาพกระจกลิฟต์ของบีทีเอสสถานีอโศกที่แตกจากการทุบ  ทราบภายหลังว่าเป็นมานิตย์ อินทร์พิมพ์ หรือซาบะ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนพิการและแอดมินของแ
"ทำไมเขาถึงเย็นชากับเราขนาดนั้น"
"เขาคงอยากคุยกับคนรัก มากกว่ามานั่งเขียนให้คนรักอ่าน"
งานวิจัยชิ้นล่าสุดพบว่า เลือดและปัสสาวะสามารถวินิจฉัยภาวะออทิสติกได้ โดยอาศัยสารชี้วัดทางชีวภาพ (biomarker) ที่มีอยู่ในของเหลวทั้งสองชนิดระบุภาวะความพิการในเด็กอายุน้อย ซึ่งใช้เวลาตรวจเพียงหนึ่งวันเท่านั้น
คณะคนหน้าขาวภายใต้การกำกับของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัด"เทศกาลหัวใจพองโต"งานรำลึกถึงไพฑูรย์ ไหลสกุล (อั๋น คนหน้าขาว) นักละครใบ้คนสำคัญของไทยซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 60 
อาทิตย์ที่แล้วเราได้รับอีเมลฉบับหนึ่งจากคณะ แจ้งว่าตอนนี้ตึกภาคเพิ่งเปลี่ยนประตูทางเข้าให้เป็นแบบเปิดปิดอัตโนมัติ ต่อจากนี้ไปจะเข้า จะออก ไม่ต้องเอื้อมไปจับลูกบิดเปิดประตูแล้ว แต่ให้กดปุ่มรูปวีลแชร์ที่ผนังแทน แล้วประตูจะเปิดเอง