Skip to main content
ดูเหมือนว่าในปัจจุบัน ‘โรคซึมเศร้า’ จะเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับว่า ความเจ็บป่วยทางจิตใจนั้นสมควรให้คุณค่าไม่ต่างจากความเจ็บป่วยทางกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไปถึงอาการป่วยรุนแรงที่พร้อมคร่าชีวิตคนได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ดีก็ยังมีพื้นที่ที่ความเข้าใจเรื่องซึมเศร้านั้นยังอาจไปไม่ถึง
‘โรคซึมเศร้า’ เป็นโรคที่มีมานานแต่ถูกพูดถึงบ่อยในช่วงสองสามปีมานี้ บางคนอาจจะรู้จักโรคนี้จากคนใกล้ตัว และบางคนอาจจะรู้จักจากนักร้อง นักแสดงที่ออกมาเปิดเผยว่าตนเป็นโรคซึมเศร้า หลายคนอาจรู้จักโรคนี้เมื่อคนที่มีชื่อเสียงเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ทุกองค์ประกอบทำให้คนทั่วโลกตระหนักถึงความร้าย
ฐิติพร พริ้งเพริ้ด ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่ปี 44 ในตอนที่คนยังไม่รู้จักคำว่า “โรคซึมเศร้า” กันดีนัก ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนที่เธอจะป่วย เธอใช้ชีวิตแบบ “ทำร้ายร่างกายอย่างหนักหน่วง” กินหนัก นอนดึกถึงขั้นไม่นอน จนเมื่ออาการโรคซึมเศร้านั้นชัดเจน เธอก็ไม่ยอมไปหาหมอ และจมอยู่
ช่วงที่ผ่านมามีคอร์สอบรมเกี่ยวกับการดูแลจิตใจเกิดขึ้นมากมาย จากความต้องการการเยียวยาคนที่ได้รับความกดดันและหนึ่งในนั้นก็มีกระบวนการที่ชื่อ Rainbow of  Desires หรือการอบรมละครเพื่อการเยียวยา
สมาคมผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย จัดวงเสวนา “ทำไมต้องให้ที่ยืนกับคนป่วยใจ” ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านสื่อ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ป่วยทางจิตมีที่ยืนในสังคม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวช ชี้แจงข้อมูลข่าวสาร อยากให้ทุกฝ่ายเปิดใจเรียนรู้ แนะนำช่องทางให้ความช่วยเหลือพร้อมนำเสนอกิจกรรมวิ่ง ก้าวแรก บัดดี้รัน ( Buddy Run ) จับมือองค์กรระหว่างประเทศขยายเครือข่ายการทำงานทั่วอาเซียน
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่าการสำรวจกลุ่มคนอายุ 15 ปีขึ้นไปในประเทศไทยพบว่าทุก 1 ใน 4 คน จะมีโอกาสมีปัญหาทางสุขภาพจิต และในปัจจุบัน 'โรคซึมเศร้า' ถือว่าเป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจที่มีการพูดถึงมากที่สุดอาการหนึ่ง
ผู้ป่วยหรือผู้มีความบกพร่องทางจิตส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมไปพบจิตแพทย์และเข้ารับการรักษา เกิดจากการวิตกกังวล หวาดกลัว อับอาย และที่สำคัญไม่ต้องการถูกตีตราบาปจากสังคมว่า เป็นโรคจิต คนบ้า ฯลฯ โดยเชื่อว่าการมีสถานภาพเป็นผู้ป่วยจิตเวชแม้จะรักษาอาการจนหายดีแล้วก็ตาม จะทำให้ตนเป็นที่รังเกียจจนถูกกีดกันออกจากสังคม ไม่ถูกยอมรับ เสียโอกาสในด้านต่างๆ เช่น หน้าที่การงาน หรือแม้แต่การถูกเลือกปฏิบัติแตกต่างออกไปจากคนอื่น ท้ายที่สุดจึงเลือกปกปิดอาการและเก็บไว้เป็นความลับแทน รอคอยว่าสักวันหนึ่งคงหายได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษาแล้วอะไรล่ะ? เป็นตัวการทำให้พวกเขาเข้าใจผิดเช่นนั้น เพราะอะไรจึงเชื่อว่า เรื่องที่เคยได้ยินเป็นเรื่องจริง ในวันนี้อดีตผู้ป่วยจิตเวชจะมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและบอกพวกคุณว่า ทั้งหมดที่เคยเชื่อมาเป็นแค่เรื่องโกหก! พร้อมเปิดเผยเรื่องราวที่จะเปลี่ยนทุกความเชื่อและฆ่าทุกความกลัวของคุณไปตลอดกาล สิ่งที่คิดกับความเป็นจริงจะต่างจากสิ่งที่รับรู้มาขนาดไหน ลองมาฟังประสบการณ์จริงจากปากพวกเขากัน
บ่อยครั้งที่เราได้อ่านเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับ 'โรคซึมเศร้า' โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งนำเสนอผ่านหลายแง่มุม โดยส่วนใหญ่มักเป็นคำบอกเล่าจากปากของผู้เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งปัจจุบันหายแล้ว หรือบทความเชิงวิชาการที่ประกอบด้วยข้อมูลทางการแพทย์มากมาย เช่น อาการเบื้องต้นของโรคซึมเศร้าที่กว้างแสนกว้างจนคล้ายคลึงกับอาการเครียดปกติ แต่ผู้ป่วยที่ยังไม่หายล่ะ ผู้ป่วยที่อาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการจิตเภทร่วมด้วย คุณเคยได้ยินเรื่องของเขาไหม เรื่องราวและโครงสร้างอันซับซ้อนของโรคซึมเศร้าที่มาจากประสบการณ์จริงที่แตกต่างจากทุกเรื่องที่คุณรู้มา และในวันนี้น้องสาวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ปัจจุบันยังคงเป็นอยู่ทั้งยังมีอาการหลงผิดหลอนประสาทร่วมด้วยกำลังจะเล่าทุกรายละเอียดให้ฟัง