Skip to main content
เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2561 สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ และกระทรวงสาธารณะสุข ได้จัดการประชุมเชิงวิชาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (CBR Forum 2018) โดยมีเวที “เพราะเด็กก็คือเด็ก ” (Because a child is a child)  ซึ่งได้รับความสนใจและมีผู้ร่วมเสวนาหลายคน ได้แก่ ปิยะนุช ชัชวรัตน์ ประธานศูนย์บ้านทอฝัน สมาคมสมาคมพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จ.เชียงราย, ดร.สุจินต์ สว่างศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกุล จ.ลพบุรี, ประสานทอง จันทมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนเขากลอย จ.สงขลาและจันทนา เจริญวิริยะภาพ ประธานชมรมผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ จ.สงขลา
เราเคยเห็นคนพิการถูกนำแสนอในสื่อแบบไหนบ้าง? คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพน่าสงสารมักมาพร้อมกับคนพิการในสื่ออย่างอัตโนมัติ เพราะอะไรคนพิการในสื่อจึงต้องน่าสงสาร นอกจากเรื่องความน่าสงสารและประเด็นดราม่าแล้ว ชีวิตคนพิการมีมิติไหนให้นำเสนออีกบ้างหรือเปล่า 
จากสถิติแล้วมีคนพิการที่อยู่ในวัยทำงานเพียงไม่กี่เปอเซ็นต์ที่มีงานทำ แม้จะมีกฏหมายที่เข้ามาช่วย หรือมีการจ้างงานแบบใหม่ๆ ที่เอื้อให้คนพิการทำงานใกล้บ้าน แต่การไม่เข้าถึงสิ่งพื้นฐานแรกเริ่มอย่างการศึกษาก็ทำให้คนพิการขาดโอกาสการเข้าถึงอาชีพในอนาคตฟังประสบการณ์การทำงานของคนพิการว่า การทำงานเปลี่ยนชีวิต และสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตอิสระได้อย่างไร แล้วทำอย่างไรคำว่า คนพิการและอาชีพ จะสามารถรวมกันได้อย่างกลมกลืน
"เด็กแต่ละคนมีความสามารถและข้อจำกัดทางการเรียนรู้ต่างกันออกไป ความรู้ทางด้านวิชาการบางประเภทอาจไม่ตอบสนองต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กบางคน ทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่" ลัดดาวัลย์ ศานตินิรันดร ผู้อำนวยการโรงเรียนภัทรญาณวิทยา จ.นครปฐมกล่าวบนเวทีเสวนาเรื่อง “ทิศทางการเรียนรวมในประเทศไทย”
คนพิการไม่ใช่คนที่ไม่มีพื้นที่ แต่พื้นที่ที่คนพิการได้มักจะเป็นคนละที่กับที่คนทั่วไปใช้ คือเป็นพื้นที่ที่ถูกจัดสรรออกจากผู้อื่นข้อบ่งชี้ที่จะนำไปสู่ความเป็น Inclusive Development ต้องมีด้วยกันสามประการ อย่างแรกคือการมีส่วนร่วมหรือ full and Deflective participation ช่วยกันคิด ทำและช่วยกันรับผล อย่างที่สองคือ การเข้าถึงทรัพยากร อย่างสุดท้ายคือการเสริมพลังหรือ Empower ช่วยกันพัฒนาและเสริมพลังกันอย่างเต็มที่แนวคิดประชาธิปไตยควรจะ Inclusive Democracy คือไม่ควรจะเป็นประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ แล้วแค่คำนึงถึงคนส่วนน้อย แต่ควรเป็นประชาธิปไตยของคนทุกคน Democracy for Allไม่ใช่การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแต่หนีบไปเฉยๆ ทุกคนควรพัฒนาไปด้วยกัน พร้อมกัน
ในวัยมัธยม จะมีเด็กสักกี่คนที่รู้ว่าตัวเองนั้นชอบอะไร และอยากทำอะไร แต่นั่นไม่ใช่ผ้าย บุญธิดา ชินวงษ์ บิวตี้บล็อกเกอร์สาวน้อยขี้เล่น วัย 18 ปี ที่ตอนนี้ใครๆ ก็ต้องรู้จักเธอแน่หากพูดว่า ‘ฝ้าย ใช้เท้าแต่งหน้า’ 
เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เติบโตและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้งานทั้งหลายได้เข้าถึงและใช้งานง่าย และในขณะเดียวกันก็มีแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการอีกด้วย มาดูกันดีกว่าว่ามีแอปพลิเคชันอะไรบ้าง
ทราย-ภัทรา สังขาระ อายุ 29 ปี ใช้ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่อยู่บนเตียงที่บ้าน หลังเกิดภาวะเนื้องอกทับเส้นประสาทที่หลัง จนทำให้ไม่สามารถเดินได้ แม้จะมีวีลแชร์ที่ใช้สำหรับไปไหนมาไหน แต่การนั่งก็ยังเป็นเรื่องยากสำหรับเธอ นั่นจึงทำให้การทำกิจวัตรนอกบ้าน หรือการประกอบอาชีพแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
หลังจากที่แบรนด์ Tommy Hilfiger ได้ปล่อยคอลเลคชันเสื้อผ้าดัดแปลงสำหรับเด็กพิการ ล่าสุดเสื้อผ้าชนิดนี้ได้ถูกขยายวงกว้างไปยังกลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่ โดยได้ปล่อยให้เข้าไปเลือกซื้อทางออนไลน์แล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยประกอบไปด้วย เครื่องแต่งกายผู้ชาย 37 ชิ้นและเครื่องแต่งกายผู้หญิง 34 ชิ้น
Help Us Read หรือ “ช่วยอ่านหน่อยนะ” กลุ่มเฟซบุ๊กของคนไทยที่คอยช่วยอธิบายทุกสิ่งให้กับคนพิการทางการมองเห็น ตั้งแต่วันหมดอายุบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปจนถึงเลกเชอร์ในห้องเรียน เพียงแค่โพสต์ถามลงไปเท่านั้น