Skip to main content
สหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) ประกอบด้วย 4 ประเทศคือ อังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ โดยในอดีตประเทศต่างๆ ในสหราชอาณาจักรถือเป็นชาติสมาชิกในสหภาพยุโรป (European Union: EU) สหภาพที่มีความเข้มแข็งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่มีชาติสมาชิกจากประเทศต่างๆ ในยุโรปมากมาย ทว่าปัจจุบัน สหราชอ
นานมาแล้ว ผมเคยสนทนากับมิตรสหายท่านหนึ่งถึงปัญหาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ไม่ใช่การออกแบบเพื่อทุกคน / การออกแบบเพื่อมวลชน / อารยสถาปัตย์ (Universal design) หนึ่งในนั้นคือระบบรถไฟฟ้า (ทั้งบนดินและใต้ดิน) ที่การออกแบบยังขาดๆ เกินๆ ในแทบทุกสถานี
ในชีวิตประจำวัน น้อยนักที่จะเห็นคนพิการออกมาจับจ่ายใช้สอยหรือออกมาเดินช็อปปิ้งบ่อยจนกลายเป็นภาพชินตาอย่างเช่นคนไม่พิการทำกัน ความยากลำบากเพราะความพิการที่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ทำให้คนพิการหลายคนไม่สามารถใช้อำนาจของเงินในมือ แล้วจะมีทางใดบ้างหรือไม่ ที่ทำให้คนพิการกลายมาเป็น ‘ลูกค้าพิการ’ ที่มี
ผู้ป่วยจิตเภทก่อคดีและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากแค่ไหน? รายงานชิ้นนี้พยายามยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นถึงตัวอย่างกระบวนการยุติธรรมในต่างประเทศกับกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย แต่ท้ายที่สุดแล้วก็อาจต้องกลับมาหาคำตอบคำถามว่าแท้จริงแล้วผู้ป่วยจิตเภทนั้นก็อาชญากรรมมากน้อยเพียงใด?
‘วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ต่อเมื่อมีแรงมากระทำ หากปราศจากแรงวัตถุจะหยุดนิ่ง’ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 บอกไว้อย่างนั้น ซึ่งสรุปโดยสังเขปได้ว่า มนุษย์จำเป็นต้องใช้แรงทำสิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แม้แต่ กิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ก็ยังต้องใช้แรงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับสิ่งของ ลุกจากเตียง เปิดประตู ฯลฯ แต่กฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ นลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่า ไม่ต่างจากคนไม่พิการ ชีวิตของเธอมีมากกว่าการคิดถึงเรื่องสุขภาพหรือระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ เธอได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น และทำในสิ่งที่อยากทำ แม้ปราศจากแรงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต จนในที่สุดก็ค้นพบบางสิ่งที่ทำให้เธอและผู้ป่วยคนอื่นๆ สามารถไปได้ไกลกว่าที่พวกเขาคาดคิดไว้ และพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า คนพิการก็สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เช่นกัน
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา เวทีพูดให้กำลังใจเกิดขึ้นเยอะมากในทัศนะของกฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ แต่จะทำอย่างไร ให้คนที่ได้รับแรงบันดาลใจเหล่านั้น ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง? เขาเชื่อว่า กระบวนการละคร จะช่วยให้คนพิการลุกขึ้นมาลงมือทำ และเรียกความมั่นใจในตัวเองออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ชีวิตของเราทุกคนถูกหล่อเลี้ยงด้วยความหวังและความฝัน ขณะที่ความสมบูรณ์ของชีวิตมักถูกเติมเต็มด้วยการได้ลงมือทำในสิ่งที่รัก การท่องเที่ยวไปทั่วทีปทั่วแดนก็เป็นอีกหนึ่งความฝันยอดฮิตที่หลายคนไฝ่ฝัน สำหรับโสภณ ฉิมจินดาก็เช่นกัน เขาชื่นชอบการท่องเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ ก่อนที่โชคชะตาเล่นตลกใส่ด้วยการซัดตัวเขาลงจากไหล่เขาจนกลายเป็นคนพิการ ถึงแม้ร่างกายจะพิการแต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้างหรืออุปสรรคที่จะทำให้เขาหยุดฝัน เขาไม่อาจทำใจปล่อยฝันและสิ่งที่รักให้หลุดมือไปได้ จึงตัดสินใจออกเดินทางด้วยตนเองอีกครั้งด้วยวีลแชร์ โอกาส และหัวใจ จนกระทั่งได้พบคำตอบว่า แท้จริงแล้วเขาไม่ได้ชอบเที่ยวแต่กลับหลงรักชีวิตในขณะเดินทางเสียมากกว่า
หลายคนอาจสงสัยว่า คนตาบอดมองไม่เห็นจะมองเห็นภาพได้อย่างไร? แต่โสภณ ทับกลอง กลับทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้กลายเป็นเรื่องจริง เขาคือคนพิการทางสายตาที่มองเห็นภาพต่างๆ ได้ไม่ต่างจากคนตาดี และวิธีที่เขาเลือกใช้แทนสายตามองก็ทำให้ใครหลายคนประทับใจ เพราะทุกภาพของเขาเกิดจากการจดจำการเคลื่อนไหว ช่วงเวลา และความรู้สึก
…ความสุขและความแปลกใหม่ที่คนมองไม่เห็นได้รับจากการท่องเที่ยว เหมือนกับการ ‘เติมไฟให้ชีวิต’ เป็นความสุขรูปแบบหนึ่งที่ไม่ว่าคนพิการ หรือคนไม่พิการก็ปรารถนาจะได้สัมผัสเช่นกัน…
แต่ละประเทศมีสิทธิขั้นพื้นฐานให้ประชาชนในประเทศแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะสิทธิในการศึกษา สิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การอำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยขนส่งมวลชนต่างๆ แม้กระทั่งสิทธิในการที่จะประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเอง ไม่เว้นแม่แต่คนพิการ