Skip to main content

ต่อจากตอนที่แล้ว ส่อง 5 Youtubers คนพิการ | 1 เราได้เห็นยูทูปเบอร์หลายคนที่มีร่างกาย หรือความต้องการแตกต่างจากคนทั่วไปมาแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ นอกจากจะเป็นช่องยูทูปส่วนตัวที่นำเสนอด้วยคนคนเดียวแล้ว ยังมียูทูปเบอร์คู่พี่น้อง และแบบกลุ่ม ที่รณรงค์และนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความพิการผ่านวิดีโออีกด้วย

เจดี ดาลตัน

เขาเป็นเกย์สายตาเลือนราง และมีผิวเผือก ความซับซ้อนเหล่านี้ช่วยสร้างให้ช่องยูทูปของเขานั้นโดดเด่น เขาพยายามสื่อสารประเด็นการรักตัวเอง และการยอมรับตัวเองผ่านการพูดคุยเกี่ยวกับตัวตนของเขา

เจดีใช้ช่องของเขาเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงสังคม และเพื่อกระตุ้นนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ๆ ผ่านวิดีโอของเขา นอกจากนี้เขามักทำวิดีโอร่วมกับผู้สร้างวิดีโอที่มีอัตลักษณ์ในแบบอื่นๆ เพื่อดึงนำความสนใจและประสบการณ์กลับมายังช่องยูทูปของเขา เจดีเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #NoMoreCraption ที่รณรงค์ให้มีการทำคำบรรยายภาพในทุกๆ วิดีโอ

เอเอสแอล สตูว์

จิลและเจนนา สตีวาร์ดสัน คู่รักหูหนวก/ หูดี สร้างช่องยูทูปนี้เพื่อกระตุ้นให้คนเห็นความสำคัญของการศึกษา การป้องกันและเฝ้าระวัง รวมไปถึงวัฒนธรรมของคนหูหนวก เมื่อดูวิดีโอในยูทูปของทั้งสองคนแล้วจะพบว่า พวกเขาทั้งคู่พยายามที่สื่อสารในทุกเรื่อง ตั้งแต่การสื่อสารกับคนหูหนวก ไปจนถึงทางเลือกของการรักษา และพบว่าในหลายๆ วิดีโอมีการพูดถึงการเริ่มต้นของความสัมพันธ์กับคนหูหนวก

นอกจากนี้ จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือการพูดถึงวัฒนธรรมคนหูหหนวกและความซับซ้อนของการใช้ภาษามือ พวกเขาทั้งคู่ยังสนับสนุนแคมเปญ #NoMoreCraption และทำวิดีโอที่มีแคปชัน รวมทั้งภาษามืออีกด้วย

ริคกี้ พอยท์เตอร์

ริคกี้อายุ 25 ปี เป็นวีลอกกเกอร์หูหนวกซึ่งทำวิดีโอเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ ภาวะหูหนวกและวัฒนธรรมของคนหูหนวก วิดีโอหลายชิ้นของเธอนั้นพูดถึงการอยู่ร่วมกันของคนหูดีและคนหูหนวกเพื่อช่วยให้สังคมของทั้งสองกลุ่ม นั้นเข้าใจกันและกันดียิ่งขึ้น

ริคกี้เป็นผู้ริเริ่มแคมเปญ #NoMoreCraptions เพื่เรียกร้องให้ยูทูปเบอร์ทำคำบรรยายภาพ เพื่อให้คนหูหนวกหรือคนที่มีปัญหาทางการได้ยินสามารถเพลิดเพลินกับวิดีโอได้เช่นกัน นอกจากนี้เธอยังมักตั้งคำถามต่อวงการบันเทิง เกี่ยวกับการมีตัวละครที่เป็นคนหูหนวก ซึ่งน่าจะช่วยให้เกิดความคุ้ยเคยและภาพจำใหม่ๆ เกี่ยวกับคนหูหนวก

อะเมทีส สคาเบอร์

อะเมทีส ทำช่องวิดีโอเพื่อพูดถึงภาวะออทิซึม และการอยู่กับมัน พวกเขาสร้างช่องทางนี้ขึ้นเพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจและลดอคติทีมีต่อการอยู่ร่วมกับคนที่มีภาวะออทิซึม

ในวิดีโอชุด “ถามออทิซึม” นั้นทลายข้อสงสัยต่างๆ ที่คนมักมีต่อคนที่เป็นออทิซึม นอกจากนี้ยังอธิบายการแยกแยะอาการของโรคว่า พฤติกรรมแบบไหนที่นับว่าเป็นออทิซึม หรือพฤติกรรมแบบไหนที่ไม่เป็น ด้วยคำถามและข้อความที่เข้าใจง่ายเหล่านี้ ทำให้วิดีโอของพวกเขาสามารถทลายกำแพงความไม่รู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับภาวะออทิซึมได้เป็นอย่างดี

นั่งสวยๆ แบบโลโล่

โลโล่ มีภาวะของโรคกล้ามเนื้ออ่อนนแรงชนิด ALS ตั้งแต่อายุ 14 ด้วยอาการนี้เองจึงทำให้เธอต้องใช้ชีวิตอยู่บนวีลแชร์ ALS ทำให้กล้ามเนื้อของเธอเสื่อมสภาพ เป็นผลมาจากการทำงานที่ล่าถอยของเซลล์ในสมองและไขสันหลัง

แชลแนลของเธอครอบคลุมตั้งแต่เรื่องแฟชั่นบนวีลแชร์ เดท ไปจนถึงเรื่องเซ็กส์

โลโล่มีบุคลิกมั่นใจในตัวเอง พูดจาน่าเชื่อถือ นั่นทำให้วิดีโอของเธอกลายเป็นเหมือนคลังความรู้ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน นอกจากนั้นวิดีโอของเธอยังช่วยทำให้ความเข้าใจผิดต่างๆ ที่มีเกี่ยวกับความพิการนั้นถูกเข้าใจเสียใหม่ โดยเฉพาะความคิดที่ว่า ถ้าหากคุณเป็นคนพิการ คุณจะไม่สามารถมีความสุขในชีวิตได้

เดอะ แมนเดวิลล์ ซิสเตอร์

อะเมเลียและเกรซ เป็นคู่พี่น้องที่สุดแสนจะธรรมดา ทั้งคู่อาศัยอยู่ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ เกรซเกิดมาพร้อมกับแขนข้างเดียว และมักเล่าเรื่องตลกผ่านยูทูปเกี่ยวกับแขนของเธอว่า เธอได้กินแขนไปข้างหนึ่งเพื่อแต่งชุดฮาโลวีน หรือไม่ก็เล่าว่า อะเมเลียพี่สาวของเธอได้กดมันลงชักโครกไปตอนพวกเขายังเด็ก

พวกเขาใช้ความเป็นตัวเองอธิบายสิ่งที่ต้องเจอ หรือการเลือกปฏิบัติเมื่อต้องใช้ชีวิตด้วยแขนเพียงข้างเดียว นอกจากนี้พวกเขายังทำวิดีโออื่นๆ ด้วยเช่น การลองชิมลูกกวาดอเมริกัน