Skip to main content

เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เติบโตและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้งานทั้งหลายได้เข้าถึงและใช้งานง่าย และในขณะเดียวกันก็มีแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการอีกด้วย มาดูกันดีกว่าว่ามีแอปพลิเคชันอะไรบ้าง

รูปภาพของแอปพลิเคชั่น SQR

SQR (Sign Language 2D Barcode for the Deaf) ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ IOS/ANDROID

เหมาะสำหรับคนพิการทางการได้ยิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการอ่าน โดยการเปิดโอกาสให้คนหูหนวกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เอกสารทางราชการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดทำหนังสือเรียนและเอกสารที่ติดบาร์โค้ดสองมิติสำหรับการใช้งานผ่านทางช่องทางแอปพลิเคชันสำหรับคนพิการทางการได้ยิน โดยแอปพลิเคชันจะรองรับการใช้งานพื้นฐานของคนหูหนวกและตอบสนองต่อผู้ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่มีวิดีโอภาษามือ 

ดูที่นี่

รูปภาพของแอปพลิเคชัน Blind Tool

BlindTool ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ ANDROID

เหมาะสำหรับคนพิการทางร่างกายประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะกับคนพิการทางการมองเห็น เพียงแค่ผู้ใช้หันโทรศัพท์มือถือไปรอบ ๆ แอปพลิเคชันก็จะตรวจจับวัตถุที่มีในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะแปลความหมายและอ่านออกเสียงว่าวัตถุนั้นคืออะไร ที่สำคัญคือสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต

ดูที่นี่

รูปภาพของแอปพลิเคชั่น Visible Note

Visible Note ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ ANDROID

เป็นการร่วมมือกันของ DTAC กับ The Leo Burnett Group เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กพิการทางสายตาได้เรียนดนตรีคลาสสิค ผู้ใช้งานสามารถสั่งการด้วยเสียงหรือการสัมผัสหน้าจอ เพื่อเลือกเพลง เล่นเพลง หยุด ย้อนกลับ หรือไปข้างหน้า และสามารถเล่นดนตรีไปด้วย พร้อมทั้งฟังโน้ตไปด้วย โดยไม่ต้องใช้มือคลำโน้ตอักษรเบรลล์

ดูที่นี่

รูปภาพของแอปพลิเคชัน Pannana

Pannana ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ IOS/ANDROID   

แอปพลิเคชันนี้เป็นการร่วมมือกันของ บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด, บริษัท กล่องดินสอ จำกัด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและดาวน์โหลดสารบัญของเสียงบรรยายภาพยนตร์ที่ต้องการ จากนั้นเสียบหูฟัง แล้วเดินเข้าโรงภาพยนตร์ร่วมกับคนสายตาปกติ จากนั้นแอปพลิเคชันจะฟังเสียงของภาพยนตร์ที่ดำเนินอยู่และเชื่อมต่อเข้ากับระบบฐานข้อมูลเพื่อค้นหาเสียงบรรยายภาพและเริ่มใช้ได้ทันที ทำให้คนพิการทางการมองเห็นก็สามารถสร้างภาพจินตนาการจากการฟังบรรยายภาพด้วยเสียง ทำให้รับชมเรื่องราวได้อย่างมีอรรถรส โดยมีภาพยนตร์ยอย่าง “เพื่อน...ที่ระลึก” ประเดิมการใช้แอปพลิเคชันนี้เป็นเรื่องแรก

ดูที่นี่

รูปภาพของแอปพลิเคชัน TTRS VDO

TTRS VDO ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ IOS/ANDROID

แอปพลิเคชันแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายสำหรับคนพิการทางการได้ยิน โดยใช้ภาษามือสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผ่านวิดีโอคอลได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสื่อสารผ่านตู้ TTRS ซึ่งมีกว่า 120 ตู้ทั่วประเทศเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน และจะมีการประสานงานมายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ของแต่ละจังหวัดเพื่อซักอาการ และระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมถึงให้คำแนะนำปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนที่จะจัดส่งทีมไปช่วยเหลือ ซึ่งปัจจุบันมี 18 จังหวัดที่รองรับการให้บริการดังกล่าว คือ จังหวัดพิษณุโลก อุบลราชธานี สมุทรปราการนนทบุรี  สุราษฎร์ธานี  สมุทรสาคร เชียงราย ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เชียงใหม่ สงขลา นครพนม กรุงเทพมหานคร และในอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง

ดูที่นี่

รูปภาพของแอปพลิเคชัน Wemogee

Wemogee ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ IOS/ANDROID

แอปพลิเคชันนี้จะช่วยให้คนพิการทางสมองสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ง่ายมากขึ้นผ่านอีโมจิ (Emoji) โดยผู้ใช้งานเลือกประโยคพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ซึ่งในแอปพลิเคชันมีมากถึง 140 ประโยค จากนั้นแอปพลิเคชันจะแปลงประโยคนั้นให้ออกมาเป็นอีโมจิเพื่อสื่อสารกับคนอื่น ๆ

ดูที่นี่

รูปภาพของแอปพลิเคชัน Be my eyes

Be my eyes ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ IOS

แอปพลิเคชันที่ช่วยเหลือคนพิการทางการมองเห็น โดยแอปพลิเคชันจะถ่ายภาพเคลื่อนไหวโดยรอบ จากนั้นระบบจะส่งภาพและเสียงไปยังอาสาสมัครอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้อาสาสมัครทำการอธิบายสภาพแวดล้อมโดยรอบที่คนพิการคนนั้นยืนอยู่กลับมา เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการช่วยเหลือ

ดูที่นี่