Skip to main content

สิทธิที่ต้องมี แต่ไม่มี เพราะไม่มีบัตร(คนพิการ)
สิทธิที่ต้องมี แต่ไม่มี เพราะไม่มีบัตร(คนพิการ)
สิทธิที่ต้องมี แต่ไม่มี เพราะไม่มีบัตร(คนพิการ)
สิทธิที่ต้องมี แต่ไม่มี เพราะไม่มีบัตร(คนพิการ)

แล้วบัตรประจำตัวคนพิการคืออะไร?

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการถึง 3.7 ล้านคน และมีคนพิการมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 55.6) ไม่ได้จดทะเบียนคนพิการมีสาเหตุเนื่องมาจากไม่ต้องการจดทะเบียน ไม่คิดว่าตนเองพิการอยู่ในระดับที่จดทะเบียนได้ และไม่ทราบข้อมูลการจดทะเบียน

หลายคนอาจไม่ทราบว่าบัตรประจำตัวพิการช่วยในเรื่องสิทธิของคนพิการต่างๆ thisable.me จึงอยากนำเสนอวิธีการทำบัตรง่าย ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งวิธีการเตรียมตัว และสถานที่ที่สามารถไปทำได้ แล้วทำแล้วจะได้สิทธิและการคุ้มครองอะไรบ้าง หลังจากที่ได้บัตรกันแล้ว

คุณสมบัติในการทำบัตรประจำตัวคนพิการ

บัตรนี้ทำกันไม่ยาก ขอเพียงแค่มี “สัญชาติไทย” และเป็นคนที่พิการตั้งแต่ ”กำเนิด” หรือพิการจาก “อุบัติเหตุ” หรือพิการจากการ “เจ็บป่วย” หรือ “กรรมพันธุ์” ก็สามารถทำได้เหมือนกัน สำหรับคนที่ไม่มั่นใจว่าตนเองมีความพิการในระดับที่สามารถจดทะเบียนได้หรือเปล่า สามารถไปขอตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อขอใบรับรองได้

การยื่นขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ มีวิธีการง่าย ๆ เพียงแค่เตรียมเอกสารดังนี้

1.สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ สำเนาสูติบัตร
2.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้พิการเอง
3.ใบรับรองความพิการจากสถานพยาบาลที่รัฐ และเอกชน
.
***ยกเว้นเห็นสภาพความพิการชัดเจนอยู่แล่ว ไม่ต้องมีใบรับรองก็ได้***
 
 

สถานที่ให้บริการในการออกบัตร โดยสถานที่ที่สามารถนำไปยื่นได้ มีดังนี้

สำหรับคนพิการที่อยู่ในกรุงเทพ สามารถไปสถานที่ออกบัตรคนพิการได้ที่
1.กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.โรงพยาบาลสิรินธร
3.โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
4.สถาบันราชานุกูล
5.โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
6.โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
7.โรงพยาบาลพระราม 2
 
 

หลังจากที่ได้บัตรมาแล้ว คนพิการจะได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองอะไรบ้าง?

ด้านการเดินทาง คนพิการสามารถขึ้นรถขนส่งสาธารณะอย่าง MRT ฟรีทุกสถานี หรือ BTS ฟรี เพียงแค่แสดงบัตรคนพิการ

ด้านการแพทย์ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกที่ โดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ มีสิทธิได้รับบริการทางการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ช่วยคนพิการ และรวมถึงการบำบัดรักษา

ด้านการศึกษา จะได้รับการสนับสนุนให้มีการศึกษาให้เหมาะสม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนจบปริญญาตรี รวมถึงเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

ด้านอาชีพ จะได้รับการคุ้มครองแรงงานให้มีงานทำตลอด ถ้าประกอบอาชีพอิสระจะได้รับการส่งเสริม เรื่องบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่น ๆ และการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการหน่วยงานรัฐ หรือสถานศึกษาเอกชน

เมื่อผู้พิการบรรลุนิติภาวะ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถยืมเงินทุกประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ราายละไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย

ด้านสิทธิคนพิการและสวัสดิการ จะมีการบริการล่ามภาษามือให้ มีการช่วยเหลือทางกฎหมาย การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ

ด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย มีบริการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้กับคนพิการ เพื่อเพิ่มความสะดวก และปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันในที่อยู่อาศัยของคนพิการเอง แต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย