Skip to main content

ก่อนการเริ่มต้นมหกรรมกีฬาสำหรับคนพิการระดับโลกหรือพาราลิมปิก 2020 ที่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 24 สิงหาคม - 5 กันยายน ตามหลังโตเกียวโอลิมปิก 2020 คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (International Paralympic Committee) ได้มีการเปิดตัวแคมเปญ WeThe15 ที่สื่อถึงสัดส่วนของประชากรกลุ่มคนพิการ 1.2 พันล้านคนจากทั่วโลก ซึ่งนับเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด

แม้คนพิการเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด สิ่งที่น่าเศร้าคือประชากรร้อยละ 15 นี้มักถูกทำให้เป็น “กลุ่มคนชายขอบ” ของสังคม ผ่านการทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่พึงได้รับเช่นเดียวกับประชากรอีกร้อยละ 85 ที่เหลือ หรือบ่อยครั้งที่พวกเขาถูกมองว่ามีความ “แตกต่าง” จากคนอื่นๆ 

“ขับเคลื่อนความต่างให้เป็นหนึ่ง” —แคมเปญ #WeThe15 มีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนระดับโลกเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติ แบ่งแยกคนพิการและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของประชากรกลุ่มนี้อย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมการพาราลิมปิกและภาคีเครือข่ายได้กำหนดเป้าหมายการทำงานเพื่อความสำเร็จนี้ให้บรรลุผลในอีกหนึ่งทศวรรษหรืออีก 10 ปีข้างหน้า และผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถมีส่วนร่วมกับแคมเปญนี้ได้

การเปิดตัวแคมเปญที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกนี้ถูกปล่อยก่อนการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับภาพยนตร์สั้นที่คณะกรรมการพาราลิมปิกสากลได้ร่วมมือกับ Facebook ในการจัดทำวิดีโอสั้น 4 ตอนบอกเล่าเรื่องราวจากพลังของกีฬาที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับชุมชนคนพิการใน 4 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์และบราซิล โดยเผยให้เห็นเรื่องราวชีวิตของกลุ่มคนและชุมชนนักกีฬาพิการที่มารวมตัวกันบนโลกออนไลน์อย่าง Facebook Group และได้แลกเปลี่ยน รวมถึงให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและให้กำลังใจในการเอาชนะอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ เช่น เรื่องราวของกลุ่มวีลแชร์ บาสเกตบอลในเมืองเดอร์บี้ ประเทศอังกฤษ หรือกลุ่มฟุตบอลคนพิการใน เซา เปาโล ประเทศบราซิล เป็นต้น โดยสามารถรับชมหนังสั้นนี้พร้อมคำบรรยายภาษาไทยได้ที่เพจ Facebook Thailand  หรือเพจ Paralympic Games

ในพิธีเปิดพาราลิมปิกเกมส์เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา แอนดรูว์ พาร์สัน ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกสากลได้กล่าวถึงแคมเปญนี้ว่า “การมองข้ามสิ่งที่ควรจะรวมเราให้เป็นหนึ่ง โดยมุ่งไปที่ปัจจัยที่เป็นความแตกต่างยิ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกและกีดกัน สิ่งนี้บั่นทอนเป้าหมายและความสำเร็จที่เราสามารถมีร่วมกันได้ แท้จริงแล้ว ความแตกต่างยิ่งทำให้เราแข็งแกร่ง” ส่วนหนึ่งของพิธีเปิดพาราลิมปิกก็ถูกอาบไปด้วยแสงสีม่วงและสัญลักณณ์​ #WeThe15 โดยสีม่วงนี้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงคนพิการ หรือ Person with Disabilities ในแคมเปญ ซึ่งถือว่า โดยมุ่งหวังที่จะเป็นสีแห่งการรวมทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้

ในช่วงการแข่งขันกีฬาโตเกียวพาราลิมปิก 2020 แลนด์มาร์คและสถานที่สำคัญกว่า 80 แห่งทั่วโลกได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นสีม่วงทั้งหมด เช่น พระราชวังเอลิเซ่ น้ำตกไนแองการ่า อาคารรัฐสภาออสเตรีย ตึกเอ็มไพร์สเตต โคลอสเซียมแห่งกรุงโรม เพื่อขับเคลื่อนการตระหนักรู้ในปัญหาสิทธิมนุษยชนของคนพิการทั่วโลก และสร้างสังคมที่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ปราศจากอคติและการแบ่งแยก โดยแคมเปญนี้ได้รับการร่วมมือจากพันธมิตรด้านกีฬา กลุ่มคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ อีกมากมาย



ในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำปี 2563 ระบุว่า ไทย มีประชากรคนพิการอยู่ถึง 2,076,313 คน นับเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด อย่างไรก็ดี หากย้อนมองการใช้ชีวิตของคนพิการในประเทศ ก็จะพบว่า แม้ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ก็ยังไม่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย รวมถึงมอบสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่กลุ่มคนพิการได้อย่างทั่วถึง ทั้งที่กฎหมายได้ระบุ สิทธิของคนพิการไทยไว้อย่างครอบคลุมไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่นหรือเกาหลี แต่โครงสร้างพื้นฐานของสังคมประเทศเหล่านี้กลับเอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนพิการดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด



เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิความเท่าเทียมในการใช้ชีวิตของคนพิการในประเทศไทยและส่งเสริมค่านิยม Inclusion หรือแนวคิดของการเห็นคุณค่าคนทุกคนและการ ‘นับรวมคนทุกกลุ่ม’ คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Facebook ประเทศไทยได้มีการจัดแคมเปญออนไลน์ ‘This is for Everyone*’ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้ร่วม #ส่งใจเชียร์ฮีโร่พาราลิมปิกไทยผ่าน Instagram @thaiparaheroes และเพจของ Facebook Thailand ในคอมมิวนิตี้นี้จะมีการถ่ายทอดแรงบันดาลใจผ่านศิลปะเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความพากเพียรทำงานหนักในการฝึกซ้อมและสปิริตนักสู้ของฮีโร่พาราลิมปิกทีมชาติไทย โดยทีม Sculpture Bangkok ที่มีผลงานโด่งดังจากการถ่ายภาพและตู้ถ่ายสติ๊กเกอร์ Photoautomat ที่กำลังฮิตในตอนนี้อีกด้วย

มหกรรมกีฬาโตเกียวพาราลิมปิก 2020 ได้เริ่มขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมถึงวันที่ 5 กันยายน ทุกคนสามารถร่วมติด #ส่งใจเชียร์ฮีโร่พาราลิมปิกไทย ร่วมกับแคมเปญดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมระดมทุนผ่านของที่ระลึกได้แก่ หมวกรุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น This is for Everyone* ที่ออกแบบโดย Sculpture Bangkok มาในแนวมินิมัล 2 สี (สีขาวและสีกรมท่า) โดยรายได้จากการจำหน่ายหมวกจะส่งมอบให้มูลนิธิคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนนักกีฬาพิการต่อไป

ผู้ชมสามารถร่วมแสดงพลังส่งเสียงเชียร์ผ่านโลกออนไลน์ได้ด้วยการเปลี่ยนกรอบรูปโปรไฟล์ #ส่งใจเชียร์ฮีโร่พาราลิมปิกไทยบน Facebook และติดตามเรื่องราวพลังของฮีโร่พาราลิมปิกไทยที่ Instagram  @thaiparaheroes  และร่วมสนุกกับฟีเจอร์ต่างๆ เช่น AR camera effect กับเฟรม 3 แบบ 3 สไตล์ และสติ๊กเกอร์ภาพเคลื่อนไหวชุด photoautomat (giphy) บนสตอรี่ผ่านคำค้นหา Thai para heroes หรือ Thai paralympics  พร้อมติดแฮชแท็ค  #ส่งใจเชียร์ฮีโร่พาราลิมปิกไทย แท็กมาได้ที่ Instagram @thaiparaheroes และ @sculpturebangkok
 

มาร่วมเปลี่ยน 15% ให้กลายเป็นหนึ่ง พร้อมกันทั้งโลก

 

#Advertorial 
#Thisisforeveryone #SupportThaiParaHeroes
#TokyoParalympics2020 #ส่งใจเชียร์ฮีโร่พาราลิมปิกไทย