Skip to main content

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)

หลายคนอาจคุ้นเคยกับคนพิการผ่านภาพจำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันที่ยากลำบาก หรือการประกอบอาชีพอยู่เพียงไม่กี่อาชีพ ไม่ว่าจะเพราะโครงสร้างที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตอย่างอิสระหรือทัศนคติที่ยังไม่เปิดรับของคนในสังคมที่คอยขวางกั้นศักยภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีคนพิการอีกจำนวนมากที่มีศักยภาพ และใช้ชีวิตในแบบที่อยากเป็น โดยไม่ต้องการความสงสารหรือยกย่องให้คนพิการเป็นคนที่พิเศษกว่าใคร แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการ อาจเป็นโอกาสและความเข้าใจของสังคมที่เปิดรับมุมมองใหม่ๆ เพื่อการใช้ชีวิตที่เสมอภาคกับทุกคนในสังคม  

Thisable.me จึงอยากชวนทุกคนไปรู้จักกับคนพิการ 5 คน ที่มีอาชีพหลากหลาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความพิการไม่ได้เป็นข้อจำกัดของการใช้ชีวิตในสังคม ผ่านเรื่องราวและประสบการณ์การทำงานที่ช่วยพิสูจน์ว่า ทุกคนมีศักยภาพในตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านแคมเปญ “ดีทั่วดีถึง ดีไปด้วยกันทุกคน” จากดีแทค ที่พร้อมต่อยอดและสนับสนุนศักยภาพของคนพิการทุกๆ คน พร้อมเป็นโอกาสในการประกอบอาชีพ การทำงาน และให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการได้ดียิ่งขึ้นทุกวัน

'ฝ้าย' ที่แต่งหน้าด้วยเท้า เจ้าของ Tiktok ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 5 ล้านคน

“การใช้เท้าแต่งหน้าจริงๆ แล้วยากมากค่ะ ถามว่าฝึกนานมั้ย ก็ประมาณ 4-5 เดือน ลองไปทีละเล็กทีละน้อย จนเริ่มชำนาญขึ้น การตวัดเท้าก็พลิ้วขึ้น กลายเป็นศักยภาพที่เราทำได้ดี ฝ้ายก็พยายามฝึกฝนตัวเองทุกวันเพราะเดี๋ยวนี้คนอื่นก็รีวิวแต่งหน้ากันเยอะ เลยอยากทำให้ออกมาดีที่สุด อยากให้คนดูเห็นว่าศักยภาพของเราเป็นแรงบันดาลใจ เป็นตัวอย่างว่าสามารถต่อยอดไปเป็นงานจริงๆ จังๆ ได้ หาเลี้ยงชีพได้ ซื้อบ้านให้พ่อแม่ได้ 

“เราอยากให้ทุกคนคิดว่า เราเกิดเป็นอย่างนี้ก็ใช้สิ่งที่มีอยู่ ใช้ศักยภาพ ใช้ความสามารถของตัวเราให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แล้วสิ่งที่ดีจะตามมาเอง”

 

'โอ๊ต' มือกลองมากความสามารถ ที่ทำเพลงและวงดนตรีได้เหมือนคนทั่วไป

“ศักยภาพที่ผมมีมาจากการเรียนบ้าง ศึกษาเองบ้าง เริ่มฝึกจากเราจะหยิบจับไม้ยังไง องศาเท่าไหร่ ของแต่ละชิ้น แต่ละอันอยู่ตรงไหน มือตียังไง เท้าเหยียบยังไง ฝึกทำสิ่งนั้นให้แม่นก่อนแล้วค่อยมาฝึกสกิลกลอง

“ทุกวันนี้ผมเล่นดนตรีเรื่อยมาตั้งแต่วัยรุ่น จนได้ก้าวเข้ามาสู่ห้องอัดและเป็นมือกลองในห้องบันทึกเสียง บันทึกเสียงเพลงให้เพื่อนพี่น้องคนพิการทางสายตา รวมถึงเล่นแบ็คอัพให้พวกเขาด้วย 

“ผมอยากบอกว่าเพราะดนตรีคือชีวิตผม คือลมหายใจของผม ผมเลยมีความฝันว่า อยากจะเป็นคนหนึ่งที่ผลักดันให้วงการดนตรีคนตาบอดเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้คนอื่นรู้ว่า คนตาบอดก็มีศักยภาพเหมือนกันกับคนทั่วไป”



'หนู' ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ thisable.me และผลิตสื่อเพื่อนำเสนอเรื่องของความเท่าเทียม

“พอเราได้ลองทำมากขึ้น ได้ edit งานบ่อยๆ ได้เกลาประเด็นจากคนอื่น ตอนนี้ก็เหมือนเป็นศักยภาพที่มีติดตัวเราไปแล้ว หน้าที่ของเรานอกจากการเป็นบรรณาธิการที่ Thisable.me จริงๆ แล้วก็ทำแทบทุกอย่างเลย เขียน ผู้ช่วยตากล้อง หาทุน คนสัมภาษณ์ คนคิดคอนเทนต์ คนซื้อข้าว คนซื้อกาแฟ ฯลฯ

“การทำงานเราไม่เคยมองว่าความพิการเป็นอุปสรรค จึงทำ Thisable.me เพราะอยากให้คนอื่นๆ มองคนพิการว่า ทุกคนคือคนเท่ากัน หันมาสนใจประเด็นคนพิการมากขึ้น ให้ประเด็นต่างๆ ที่เราได้จุดไว้กลายเป็นสิ่งที่สังคมพูดถึงและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อคนพิการได้จริง”

'เอ' เจ้าของร้านผัดไทยที่การันตีรางวัลมิชลินไกด์ 4 ปีซ้อน

“กว่าจะมาเป็นผัดไทยที่เห็นทุกวันนี้เราลองปรับสูตรอยู่นานเป็นเดือนๆ ให้ญาติช่วยกันชิม ช่วยกันติ ลองผัดไปเรื่อยๆ พัฒนาสูตรไปเรื่อย จนอร่อยและเริ่มไปขายได้ ตอนขายใหม่ๆ ก็เงียบ ไม่ค่อยมีคน พอมีคนเริ่มถ่ายไปลงโซเชียลจนเป็นกระแสปากต่อปาก บ้างก็ว่าผัดไทยหูหนวก บ้างก็ว่าผัดไทยไร้เสียง คนก็เริ่มรู้จักมากขึ้นและขายดีขึ้น 

“สำหรับเรื่องการสื่อสาร เราใช้ภาษาที่ใช้กันในครอบครัวคุยกัน ไม่ได้ใช้ภาษามือเป๊ะๆ พอทำงานด้วยกันกับหลายคน นานๆ เข้าก็เริ่มเข้าใจกันได้ ลูกค้าก็สามารถสื่อสารด้วยกันได้ สิ่งสำคัญที่อยากบอกที่สุดคือ ความบกพร่องของร่างกายไม่ใช่อุปสรรคถ้าเราตั้งใจสื่อสารกันจริงๆ”

'เต็ง' บาริสต้าผู้พิการทางสายตา จากร้าน Dots Coffee

“เราเริ่มฝึกจากการจำว่าอะไรอยู่ตรงไหน ใช้ประสาทสัมผัสทุกอย่าง คลำแล้วจำให้หมด สุดท้ายจะค่อยๆ รู้ว่าแต่ละขั้นตอนต้องทำอะไรก่อนหลัง ตอนนี้ก็ทำได้ทุกอย่างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเปิด - ปิดร้าน จัดของ เซ็ตอุปกรณ์ คีย์ออเดอร์ 

“ในตอนนี้การมองไม่เห็นไม่ใช่อุปสรรคของเรา พอมาทำบาริสต้าถึงรู้ว่าจริงๆ เรายังทำอะไรได้อีกเยอะเลย เราทำได้ทุกอย่างแหละ แค่ค่อยๆ ทำ ใจเย็นๆ ทุกอย่างมีทางออกเสมอ สักวันหนึ่งวันที่จะลุกขึ้นมาอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างมีความสุขจะเป็นของเรา”

นอกจากพวกเขาทั้ง 5 คนแล้ว ยังมีคนพิการอีกมากมายหลายคนที่มีศักยภาพ และพร้อมใช้ชีวิตในสังคมนี้หากสังคมนั้นเอื้อต่อการใช้ชีวิต พวกเขาหลายคนพร้อมที่จะสื่อสารให้คนอื่นๆ ได้เห็นศักยภาพที่มี และพลิกสิ่งที่เคยขาดหายให้เป็นพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด พาตัวเองไปพบศักยภาพใหม่ และใช้ชีวิตต่อไปได้ในแบบของตัวเอง พบกับอีกหลากหลายศักยภาพได้ที่ https://www.facebook.com/dtac/posts/10161194075697069

และ ดีแทค ยังมีโครงการ 'ดีแทคเน็ตทำกิน' ที่ส่งเสริมให้คนพิการมีทักษะการค้าขายออนไลน์ และมีพนักงานคอลเซ็นเตอร์ 15 คนเป็นคนพิการทางสายตามาตั้งแต่ปี 2558 ในปีนี้ดีแทคได้เพิ่มการเข้าถึงด้วยการเปิดระบบคอลเซ็นเตอร์ภาษามือเพื่อรองรับลูกค้าหูหนวก โดยสามารเข้าไปใช้บริการได้แล้วที่ LINE: @dtac4deaf 

ดีแทคพร้อมพาทุกชีวิต ดีทั่วดีถึง ดีไปด้วยกันทุกคน ด้วย 'แพ็กเกจดีทั่วดีถึงเพื่อผู้พิการ' ที่พร้อมต่อยอดความสามารถ และสนับสนุนทุกศักยภาพ ให้คนพิการทุกคนได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ