Skip to main content

เป็นคนพิการแล้วมีสิทธิอะไรบ้าง อยากเป็นผู้ดูแลคนพิการต้องทำอย่างไร คนพิการกู้เงินได้ไหม มีความรักได้หรือเปล่า ฯลฯ ชวนอ่านถาม-ตอบหลายคำถามที่ติดอันดับถูกถามมากที่สุดเกี่ยวกับคนพิการ

 

ผู้ดูแลคนพิการคือ

เมื่อจดทะเบียนคนพิการ หากมีคนดูแลหรืออุปการะสามารถใส่ชื่อไว้หลังบัตรคนพิการได้ ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ระบุว่า ผู้ดูแลคนพิการคือ บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือคนอื่นที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ

ผู้ดูแลคนพิการจะได้รับสิทธิต่างๆ เช่น ลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ได้รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ เพื่อให้พึ่งตนเองได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และหากคนพิการไม่สามารถดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ผู้ดูแลคนพิการหรือองค์กรด้านคนพิการสามารถเป็นผู้ดำเนินการแทนได้

 

เงินสงเคราะห์คนพิการคือ

เงินสงเคราะห์คนพิการ 800 บาท หรือที่เรียกกันว่า เบี้ยความพิการ เป็นเงินที่คนพิการได้รับหากมีสมุด หรือบัตรประจำตัวคนพิการ เดิมทีเงินจำนวนนี้ถูกกันไว้ให้เฉพาะคนพิการที่ไม่มีรายได้เท่านั้น หากเป็นคนพิการที่สูงอายุก็มีสิทธิได้รับทั้งเบี้ยความพิการ และเบี้ยผู้สูงอายุ โดยนำบัตรประจำตัวคนพิการ ฉบับจริงพร้อมสำเนา ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา(เฉพาะหน้าที่แสดงชื่อและเลขที่บัญชี) ไปยื่นได้ที่สำนักงาน พมจ.หรือกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หากไม่สามารถไปยื่นได้ด้วยตัวเองสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ดูแลคนพิการดำเนินการแทนได้

อย่างไรก็ดีมีการถกเถียงเรื่องเบี้ยความพิการอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมาถึงเรื่องความเหมาะสมของจำนวนเงิน เช่น ในงานสมัชชาเครือข่ายคนพิการระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 ผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทและภาคีเครือข่ายใน 4 ภาค ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้รัฐบาลปรับเพิ่มเบี้ยคนพิการเป็น 1,000 บาท และปรับเพิ่มเบี้ยความพิการเป็นแบบขั้นบันได โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการเป็นสำคัญ โดยจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็ได้กล่าวว่าเป็นข้อเสนอที่ทำได้ยากมาก

นอกจากนี้ในเว็บไซต์ Change.org ได้มีแคมเปญเพิ่มเบี้ยยังชีพคนพิการเป็น 2,000 บาท โดยระบุว่า ปัจจุบันคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการมีร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 1.5 ล้านคนโดยประมาณ ในจำนวนนี้มีคนพิการเพียง 1% ที่มีโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ที่เหลือจำเป็นต้องได้รับการดูแลอุปการะ เบี้ยยังชีพคนพิการเดือนละ 800 บาทนั้นสามารถใช้จับจ่ายใช้สอยได้ไม่เกิน 2 วัน ทั้งที่คนพิการมีความจำเป็นพื้นฐานสูงกว่าคนปกติ 3-4 เท่าตัว เช่น ค่าใช้จ่ายดูแลฟื้นฟู ซึ่งอยู่นอกเหนือจากความต้องการด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เบี้ยยังชีพคนพิการ 800 บาท จึงไม่สมเหตุสมผล จึงต้องการให้เพิ่มเบี้ยยังชีพเป็นเดือนละ 2,000 บาท แม้จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพประจำวัน แต่จะช่วยให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยในแคมเปญได้พูดถึง 5 ประโยชน์ที่จะได้รับหากเพิ่มเบี้ยยังชีพคนพิการคือ 1.ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 2.บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคนพิการ 3.กระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่คือผู้ด้อยโอกาส และเป็นผู้มีรายได้น้อย 4.เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจได้ถึง 108,000 ล้านบาท 5.จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น

 

เป็นคนพิการแล้วได้อะไร

เมื่อคนพิการลงทะเบียนความพิการแล้ว ก็มีสิทธิได้รับสวัสดิการด้านต่างๆ เนื้อหาเรื่องสิทธิคนพิการได้ที่นี่

หรือจำแนกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

  • คนพิการสามารถขอเงินเพื่อปรับสภาพภายในที่อยู่อาศัยไม่เกินคนละ 20,000 บาท
  • ยืมอุปกรณ์ ICT ของภาครัฐ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ โดยต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 1 ฉบับและสำเนาทะเบียนบ้านคนพิการ 1 ฉบับในการทำเรื่อง
  • หากคนพิการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางสถานพยาบาลต้องจัดหาอุปกรณ์เทียม หรือเครื่องอำนวยความสะดวกให้ หากไม่มีให้เบิกจากศูนย์สิรินธร กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ด้านการแพทย์

  • คนพิการสามารถใช้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างครบวงจร และหากมีบัตรทอง (ท.74) สามารถใช้บริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่ง ทั้งการฟื้นฟู อาชาบำบัด และวารีบำบัด

ด้านการศึกษา

  • กองทุนการศึกษาเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
  • ยืมอุปกรณ์การท่องเที่ยวและกีฬา สำหรับคนพิการที่มีความจำเป็นพิเศษทางการศึกษา สามารถขอยืมอุปกรณ์พลศึกษา เช่น บ็อคเซีย ลูกบอลมีเสียง และลูกบาสเกตบอลมีเสียงได้

ด้านอาชีพ

  • คนพิการสามารถรับคำแนะนำในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
  • คนพิการสามารถรับสลากกินแบ่งรัฐบาลไปขายได้ด้วยตนเองคนละไม่เกิน 6 เล่ม โดยลงทะเบียนกับหน่วยงาน
  • จ้างงานคนพิการตามมาตรา 33 ที่ว่าด้วยเรื่องสถานประกอบการหรือหน่วยงานต้องจ้างคนพิการในอัตราส่วน 100 : 1 คน และ มาตรา 35 หากไม่รับตามกำหนดตามมาตรา ม.33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุน โดยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ x 365 x จำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน ในกรณีไม่รับพนักงานตาม ม.33 และไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุน หน่วยงานหรือสถานประกอบการอาจช่วยเหลือหรือจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่คนพิการได้
     

ด้านสังคม

  • คนพิการสามารถกู้ยืมเงินได้ไม่เกิน 120,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ยและมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
  • สวัสดิการขนส่งสาธารณะ ได้รับการยกเว้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS และ MRT และลดหย่อนค่าโดยสาร ขสมก. รถไฟ และเครื่องบิน
  • คนพิการมีสิทธิที่จะได้รับบริการผู้ช่วยคนพิการ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
  • ได้รับงบสงเคราะห์ เช่น เบี้ยคนพิการ,เงินในการปรับสภาพที่อยู่อาศัย,การกู้ยืมเงินทุนในการประกอบอาชีพ หรือการเข้ารับการศึกษารวมทั้งการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
  • ลดหย่อนภาษีคนพิการและผู้ดูแล หากคนพิการมีรายได้ไม่เกิน 190,000 บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นภาษี และผู้ดูแลสามารถลดหย่อนภาษีได้ปีละ 60,000 บาท/ปี
  • คนพิการทางการได้ยินและการสื่อสารมีสิทธิรับบริการล่ามภาษามือ
  • เบี้ยคนพิการ 800 บาท/เดือน หรือ 9,600 บาท/ปี
  • สวัสดิการแห่งรัฐ,กองทุนวันละบาท (พอช.)

 

ใครกู้เงินคนพิการได้บ้าง

จากที่รู้กันไปแล้วว่า คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ สามารถกู้เงินได้ โดยสามารถกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพในวงเงินกู้รายบุคคลไม่เกินรายละ 60,000 บาท หากประสงค์กู้ยืมเงินเกินกว่าวงเงินที่กำหนด จะพิจารณาเป็นรายๆ ไปไม่เกิน 120,000 บาท และการกู้ยืมรายกลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมเป็นรายบุคคลจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1) มีบัตรประจำตัวคนพิการ
2) มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
3) มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
4) บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีหรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)
5) มีภูมิลําเนาตามทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ยื่นกู้ไม่น้อยกว่า 90 วัน
6) ไม่เคยมีประวัติเสียหายในการกู้เงินจากกองทุน หรือดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 7) ต้องชำระหนี้กองทุนแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวงเงินกู้ยืมทั้งหมด
8) มีความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน

หากเป็นผู้ดูแลคนพิการจะต้อง


1) มีคุณสมบัติเดียวกับกู้ยืมเป็นรายบุคคล (ข้อ 2 - 8)
2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3) ได้รับการรับรองจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภูมิลำเนา ข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือมีหลักฐานว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สินจากกองทุน
4) คนพิการในความดูแลเป็นผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ออทิสติก สติปัญญา หรือพิการจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
5) ต้องรับดูแลคนพิการหรืออุปการะคนพิการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

สำหรับผู้กู้ยืมเป็นรายกลุ่มจะต้อง

  1. เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรม หรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ มีสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่า 2 คน 
    2) มีหลักฐานจากสถาบันการเงินเกี่ยวกับการออมเงินอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    3) กิจการอยู่ในจังหวัดที่ยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 6 เดือน 
    4) ได้รับหนังสือรับรองจากองค์กรด้านคนพิการนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐว่า เป็นกลุ่มที่มีผลงานน่าเชื่อถือจริง 
    5) มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไปอย่างชัดเจน

https://www.thaihealth.or.th/Content/41169

 

กู้เงินคนพิการใช้เอกสารอะไร

คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่มีต้องการกู้เงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หากมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ให้ยื่นต่อกองทุนส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ บ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร ส่วนคนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) และต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่า 90 วัน

เอกสารประกอบการยื่นกู้ยืมเงินกองทุนฯ

1.บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาที่ลงลายเซ็นของผู้ดูแล
2.ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนาที่ลงลายเซ็นของผู้ดูแล
3.หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรือผู้อุปการะคนพิการหากไม่มีชื่อในบัตรคนพิการ พร้อมสำเนาบัตรของผู้รับรองที่เป็นข้าราชการ พร้อมลงลายเซ็นมาด้วย
4.สมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการพร้อมสำเนาที่ลงลายเซ็นหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
5.บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา ที่ลงลายเซ็นหรือพิมพ์ลายนิ้วมือของคนพิการ
6.ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา ที่ลงลายเซ็นหรือพิมพ์ลายนิ้วมือของคนพิการ
7.รูปปัจจุบันถ่ายเต็มตัว ขนาด 4 X 6 นิ้ว 1 รูป หากเป็นผู้ดูแลกู้แทนต้องถ่ายคู่กับคนพิการ
8.ใบประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ โดยเขียนในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ
9.แผนที่ของที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ปัจจุบันและสถานที่ประกอบอาชีพ
10.ใบรับรองแพทย์ของคนพิการ หากมีความพิการรุนแรง ให้ระบุว่าคนพิการไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้/ ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
11.หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของคู่สมรส ทะเบียนสมรสที่ลงลายเซ็น หรือสำเนาใบหย่าด้วย
12.หนังสือรับรองการอยู่อาศัย กรณีเป็นบ้านเช่า พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านที่ลงลายเซ็น
13.หลักฐานการศึกษา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิที่ผ่านการฝึกอาชีพหากมี พร้อมสำเนา และลงลายเซ็น
14.กรณียื่นกู้ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้แนบสำเนาใบเสร็จการชำระหนี้ หรือสำเนาสมุดหักลดยอดหนี้พร้อมลงลายเซ็น หรือพิมพ์ลายนิ้วมือมาด้วย

15.กรณียื่นคำขอกู้เพื่อค้าสลากฯ ให้แนบสำเนาบัตร หรือสำเนาเอกสารยืนยันการรับสลากฯ จากแหล่งที่ได้รับ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์ฯ หรือกองสลากฯ เป็นต้นพร้อมลงสำเนาลงลายเซ็นหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ

เอกสารประกอบผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินหากเป็นพนักงานบริษัท ลูกจ้างประจำ ข้าราชการ หรือธุรกิจส่วนตัว

1.บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาลงลายเซ็น
2.ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาลงลายเซ็น
3.แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ปัจจุบันและสถานที่ประกอบอาชีพ ขนาด A4 จำนวน 1 ใบ
4.หนังสือรับรองเงินเดือนจากต้นสังกัดของผู้ค้ำประกันฯ ฉบับจริง หรือถ้าเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจส่วนตัว ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากแสดงรายได้ย้อนหลัง 6 เดือน และทะเบียนการค้า พร้อมสำเนาลงลายเซ็น
5.หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของคู่สมรส ทะเบียนสมรสที่ลงลายเซ็น หรือสำเนาใบหย่าด้วย

http://202.151.176.107:8080/public/right.do?cmd=goView&id=175

 

ทำบัตรคนพิการอย่างไร

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 กำหนดให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ และสามารถยื่นทำบัตรประจำตัวคนพิการได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ

1.1 มีสัญชาติไทย
1.2 หากยังไม่ได้แจ้งเกิดหรือไม่แน่ใจเรื่องสัญชาติจะต้องไปทำตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ก่อน

  1. สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
    2.1 กรุงเทพมหานคร ได้แก่สถานที่ดังนี้
        (1) ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
        (2) โรงพยาบาลสิรินธร
        (3) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
        (4) สถาบันราชานุกูล
        (5) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
        (6) โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
        (7) ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
        (8) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
     

2.2 ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด (พมจ.)

  1. สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
    3.1 กรุงเทพมหานคร
        (1) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
        (2) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
        (3) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
    3.2 จังหวัด
        (1) โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
        (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        (3) หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
     
  2. เอกสารที่ต้องใช้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
  3. 4.1 เอกสารหลักฐานของคนพิการ
        (1) เอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
             (ก) บัตรประจําตัวประชาชน
             (ข) บัตรประจําตัวข้าราชการ
             (ค) สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี
             (ง) หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด
        (2) ทะเบียนบ้านของคนพิการ 
            กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ก่อน
        (3)  รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน 2 รูป
        (4)  เอกสารรับรองความพิการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีกําหนด
        (5)  สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ โดยเจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน
    4.2 เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ
        (1)  บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ 
         (2)  ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ 


    กรณีคนพิการเป็นเด็กหรือไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ดูแลดำเนินการแทนได้ โดยใช้เอกสารเพิ่มเติมดังนี้


     (1)  หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ 
           - ผู้รับรอง : กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจําของหน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
     (2)  สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง พร้อมรับรองสําเนา จำนวน 1 ฉบับ
           * ข้าราชการบำนาญ ไม่สามารถรับรองหนังสือนี้ได้
           * การรับรองจะสมบูรณ์ เมื่อพยานลงนามครบถ้วน
           * การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา
5.3  บุคคลอื่นยื่นคำขอมีบัตรฯ แทนคนพิการ
     (1)  สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่ดำเนินการแทน
     (2)  หนังสือมอบอำนาจ เป็นหลักฐานว่าได้รับมอบจากคนพิการ (พยานต้องลงนามครบถ้วน*)
 

การยกเลิกบัตรคนพิการ
1. กรณีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการถึงแก่ความตาย     
     (1)  บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) 
     (2)  บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ
     (3)  ทะเบียนบ้านของคนพิการ
     (4)  สำเนาใบมรณะบัตร
2. กรณีได้รับการแก้ไขฟื้นฟูจนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์ยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ  
     (1)  บัตรประจำตัวคนพิการ
     (2)  บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ
     (3)  ทะเบียนบ้านของคนพิการ
     (4)  เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
     (5)  ยื่นคำขอแทน ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินการแทน และหนังสือมอบอำนาจ (พยานต้องลงนามครบถ้วน*)

หากคนพิการไม่ได้รับอนุมัติให้มีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อนายทะเบียน ภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่ได้รับคำสั่ง และจะได้แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมเหตุผลภายในสิบห้าวัน คำวินิจฉัยของนายทะเบียนให้เป็นที่สิ้นสุด

หากคนมีปัญหา หรือข้อสงสัยในการดำเนินการ สามารถติดต่อได้ที่
- ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร. 02-3543388 ต่อ 701-705 ในวันและเวลาราชการ
- ต่างจังหวัด ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด

http://dep.go.th/Content/View/1337/2

 

คนพิการมีกี่ประเภท

หากแบ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนพิการจะถูกแบ่งเป็น 7 ประเภท

1.ความพิการทางการเห็น
2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
5. ความพิการทางสติปัญญา
6. ความพิการทางการเรียนรู้
7. ความพิการทางออทิสติก

ความพิการทางการเห็น

ตาบอดและตาเห็นเลือนรางหมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคม เป็นผลจากความบกพร่องในการเห็น โดยการระบุว่าตาบอดหรือตาเลือนราง ต้องอาศัยการวัดโดยแพทย์สายตา

ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

หูหนวก หูตึงหมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาความบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน โดยต้องได้รับการตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตซ์ 1,000 เฮิรตซ์ และ 2,000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่า ความดังของเสียงที่ได้ยินจะเป็นตัวบอกว่า หูนั้นตึงหรือหนวก

ความพิการทางการสื่อความหมายหมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ เป็นต้น

ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย

ความพิการทางการเคลื่อนไหวหมายถึง บุคคลมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องหรืออวัยวะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อัมพาต แขน ขา อ่อนแรง หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงาน
ความพิการทางร่างกายหมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม จากการมีความบกพร่องหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน

ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม

ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคม จากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด

ความพิการทางสติปัญญา

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคม จากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ ๑๘ ปี

ความพิการทางการเรียนรู้

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการมีส่วนร่วมทางสังคมโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง จนบกพร่องด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่น ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา

ออทิสติก

ความพิการออทิสติกหมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมทางสังคม จากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ปีครึ่งหรือโดยการวินิจฉัยจากแพทย์

อ้างอิง

อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2552กำหนดประเภทของคนพิการแตกต่างออกไปเป็น 9 ประเภท ได้แก่

1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
2.  การได้ยิน
3.  ทางสติปัญญา
4.  ทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
5.  ทางการเรียนรู้
6.  ทางการพูด และภาษา
7.  ทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
8.  ออทิสติก
9.  พิการซ้ำซ้อน

http://www.apdi2002.com

 

คนพิการมีความรักได้หรือเปล่า

ชวนอ่านเรื่องราวความรัก เซ็กส์ ความสัมพันธ์ต่างๆ ได้ที่ เนื้อหาเรื่องความรัก กดที่นี่

 

ไม้เท้าขาว

ชวนอ่านข้อมูลไม้เท้าขาว วิธีใช้ และประสบการณ์ของคนที่ใช้ ได้ที่ เนื้อหาเรื่องไม้เท้าขาว กดที่นี่

 

ออทิสติกต่างจากดาวน์ซินโดรมอย่างไร

อ่านความรู้เรื่องออทิสติก และดาวซินโดรมได้ที่ เนื้อหาเรื่องออทิสติกและดาวน์ซินโดรม กดที่นี่

 

คนพิการมีอารมณ์ทางเพศไหม

ชวนอ่านเรื่องอารมณ์ทางเพศของคนพิการกันที่ เนื้อหาเรื่องเพศ กดที่นี่

 

ข้อดีข้อเสียทำบัตรคนพิการ

การทำบัตรคนพิการมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร กดที่นี่

 

คนพิการขึ้นเครื่องบินได้ไหม

อ่านปัญหาและอุปสรรคที่เพื่อนๆ คนพิการเจอเมื่อเดินทางโดยเครื่องบินที่ เนื้อหาเรื่องเครื่องบิน กดที่นี่